MFU TIMELINE

MFU TIMELINE

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก่อกำเนิดขึ้นจากการที่ประชาชนชาวเชียงราย มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้น
ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเชียงราย ที่ได้ทรงเลือกจังหวัดเชียงราย
เป็นสถานที่สร้างพระตำหนัก และทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุง ซึ่งได้นำความเจริญรุ่งเรืองมายังจังหวัดและประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง
ฉะนั้น หลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงได้เสนอต่อรัฐบาลให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ในจังหวัดเชียงรายต่อรัฐบาลเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดี และเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์
ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาคน

4 มีนาคม 2539

ตัวแทนชาวเชียงรายเข้าพบนายกรัฐมนตรี

ตัวแทนชาวเชียงรายทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 18 คน โดยการประสานงานของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกฐมนตรีเพื่อขอให้สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงราย

5 มีนาคม 2539

คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
มีมติให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดเชียงราย
โดยอาจยกฐานะสถาบันราชภัฏเชียงรายขึ้น
เป็นมหาวิทยาลัยก็ได้

18 กุมภาพันธ์ 2540

คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
มีมติใหม่ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ในจังหวัดเชียงราย

21 กุมภาพันธ์ 2540​

ลงนามสัญญาประชาคม​​

นายมนตรี ด่านไพบูลย์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ได้พบกับราษฎรจังหวัดเชียงราย เพื่อยืนยันการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย และได้มีการลงนามในสัญญาประชาคมว่าจะให้มีการดำเนินการจัดตั้งให้แล้วเสร็จ และรับนักศึกษาได้ภายใน ปีพุทธศักราช 2542

สัญญาประชาคม01

28 กุมภาพันธ์ 2540​

รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นประธานคณะกรรมการจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

29 กรกฎาคม 2540

รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีมติอนุมัติให้
ใช้พื้นที่บริเวณดอยแง่ม จำนวน 4,997 ไร่
เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ชาวเชียงรายร่วมกันบุกเบิกทางเข้ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บริเวณดอยแง่ม เป็นปฐมฤกษ์

ประชาชนชาวเชียงรายกว่า 5,000 คน ร่วมกันปลูกป่าที่บริเวณดอยแง่ม เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก

รายนามคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ตามบทเฉพาะกาล

ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
พุทธศักราช 2541 วาระการดำรงตำแหน่ง
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2541 - 22 มิถุนายน 2543

รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัย

ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
อุปนายกสภามหาวิทยาลัย

นายวิจารณ์ ไชยนันทน์

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
กรรมการสภามหาวิทยาลัย

ศ.โชติ ธีตรานนท์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรรมการสภามหาวิทยาลัย

มรว.ดิศนัดดา ดิศกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายอมเรศ ศิลาอ่อน

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายสุเมธ ตันติเวชกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.วิษณุ เครืองาม

อุปนายกสภามหาวิทยาลัย

นายสุนทร อรุณานนท์ชัย

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายมีชัย วีระไวทยะ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายณรงค์ วงค์วรรณ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายคำรณ บุญเชิด

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายวันชัย จงสุทธามณี

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิภาคเหนือ

รศ.สงคราม เหลืองทองคำ

รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
กรรมการและเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

รศ.มณฑล สงวนเสริมศรี

ผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

นายสำราญ ทองแพง

ผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

ห้าปีแรก (25 กันยายน 2541 – 24 กันยายน 2546) เป็นช่วงเวลาของการบุกเบิกริเริ่มใหม่ในทุกด้าน ทั้งการก่อสร้างอาคาร
การสรรหาอาจารย์และบุคลากร ตลอดจนการออกกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ นอกจากนี้ยังมีได้เริ่มการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดสร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนขึ้นเป็นแห่งแรกในโลก

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ.2541
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงได้ยึดถือวันนี้
เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย

ทำเนียบอธิการบดี

20 ตุลาคม 2541 – 2 ธันวาคม 2541

3 ธันวาคม 2541 – 1 ตุลาคม 2544

2 ตุลาคม 2544 – 1 ตุลาคม 2548

2 ตุลาคม 2548 – 1 ตุลาคม 2552

รักษาการแทนอธิการบดี

รักษาการแทนอธิการบดี

อธิการบดี

อธิการบดี

2 ตุลาคม 2552 – 1 มกราคม 2554

2 มกราคม 2554 – 26 เมษายน 2554

อธิการบดี

รักษาการแทนอธิการบดี

27 เมษายน 2554 – 28 เมษายน 2558

29 เมษายน 2558 – 28 เมษายน 2562

อธิการบดี

รักษาการแทนอธิการบดี

29 เมษายน 2562 – ปัจจุบัน

อธิการบดี

9 มีนาคม 2542

จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ต่อมาได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ ในปีการศึกษา 2543

จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ต่อมาได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพขึ้น ในปีการศึกษา 2544

ปัจจุบันคือสำนักวิชาการจัดการ เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าทุกวิชาชีพต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการจัดการ และประเทศไทยยังขาดบุคลากรทางด้านนี้อีกมาก ได้รับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2544 ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว

ได้เปิดดำเนินการรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษาแรกของมหาวิทยาลัย ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัย พิจารณาเห็นว่าเป็นศาสตร์แห่งอนาคตซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

ปัจจุบันคือสำนักวิชาอุตสาหกรรมการเกษตร ได้เปิดดำเนินการรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษาแรก ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร  ซึ่งมหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่มีความสอดคล้องกับที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ประกอบกับประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถผลิตอาหารสำหรับประชากรโลกได้ และยังต้องการกำลังคนทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรอีกมาก

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชาคือหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มีนักศึกษาทั้งหมด 62 คน โดยใช้อาคารโรงเรียนเทศบาล 6  สลากกินแบ่งรัฐบาล

H.E. Madame Chen Zhilli รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเยี่ยมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และสานสัมพันธ์ทางด้านวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาต่อมา

มหาวิทยาลัยย้ายที่ทำการชั่วคราวจากโรงเรียนเทศบาล 6 สลากกินแบ่งรัฐบาล มายังพื้นที่ดอยแง่ม โดยใช้อาคารที่ทำการชั่วคราวส่วนหน้า 12 หลัง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542

22 มิถุนายน 2543

กรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก

มีการแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก โดยมี พล.ต.อ.เภา สารสิน ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย

รายนามคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย (ชุดแรก)

(22 มิถุนายน พุทธศักราช 2543 - 21 มิถุนายน พุทธศักราช 2555)

นายกสภามหาวิทยาลัย

ศ. ดร.วิษณุ เครืองาม

อุปนายกสภามหาวิทยาลัย

ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (รักษาการแทน)
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

ศ. ร.ต.อ. วรเดช จันทรศร

ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

นายสุนทร อรุณานนท์ชัย

ประธานส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

นายเอนก สิทธิประศาสน์

ประธานส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

นายสงคราม ชีวประวัติดำรงค์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายเรียบ นราดิศร

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายสมชาย พงษธา

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายณรงค์ วงศ์วรรณ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายคำรณ บุญเชิด

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.สุจินต์ จินายน

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.อมเรศ ภูมิรัตน์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายศรีสุข จันทรางศุ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

รศ. น.อ. ยุทธนา ตระหง่าน

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ผศ.สมศักดิ์ เอี่ยมศรีทอง

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ร.ศ.จุฑา เทียนไทย

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ดร.รุ่งโรจน์ นิลทอง

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ

อ.ศศิมา จารุบุษป์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ

อ.ณัฐพรพรรณ ปิยะอารีกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ

ผศ.ปริตนา ประทีปะเสน

รองอธิการบดี
เลขานุการสภามหาวิทยาลัย

รองอธิการบดี
เลขานุการสภามหาวิทยาลัย

ลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและ Brock University จากประเทศแคนาดา ในการวางแนวทางพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษทางธุรกิจสำหรับนักธุรกิจในภาคเหนือตอนบน

มิถุนายน 2545​

เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโทครั้งแรก​

ในหลักสูตรบริหารธุรกิจ

เกิดขึ้นจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีความต้องการให้มีการศึกษาทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนเกิดขึ้นในประเทศไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2543 การก่อสร้างได้เริ่มเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2544 โดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างจีนจากมณฑลยูนนาน หลังจากนั้น รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทำการส่งมอบให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545

27 มกราคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เยี่ยมศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนเป็นการส่วนพระองค์ และมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อศูนย์แห่งนี้ว่า “ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร” จากนั้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธรอย่างเป็นทางการ

ห้าปีที่สอง  (25 กันยายน 2546 – 24 กันยายน 2551) เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในทุกด้าน จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งหนึ่งทางด้านกายภาพการก่อสร้างอาคาร ได้รับการยอมรับว่ามีความสวยงามและโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเป็นเมืองมหาวิทยาลัยอย่างสมบูรณ์

23 มกราคม 2546

เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อปีการศึกษา 2546 เพื่อสนองต่อความต้องการนักกฎหมายคุณภาพ ให้ทันต่อการขยายตัวของหน่วยงานทางกฎหมายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

6 พฤษภาคม 2547

การก่อสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ตามโครงการพัฒนากายภาพ ระยะที่ 1

1. กลุ่มอาคารการศึกษา ได้แก่ อาคารเรียนรวม 1 (C1) / อาคารเรียนรวม 2 (C2) / อาคารเรียนรวม 3 (C3) / หอประชุมสมเด็จย่า (C4) / อาคารสำนักวิชา 1 (E1) / อาคารสำนักวิชา 2 (E2)

2. กลุ่มอาคารสำนักงาน อาคารบริหารและสันทนาการ ได้แก่ อาคารสำนักงานอธิการบดี (AD) / อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (AV) / อาคารศูนย์บริการวิชาการและวิจัย  (AS) / อาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 1-6 (S1-S6) / อาคารโรงอาหาร (D1) / พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง (D2)

3. กลุ่มอาคารที่พักนักศึกษา ได้แก่ อาคารหอพักนักศึกษา (F1-F6)

4. กลุ่มอาคารที่พักบุคลากร ได้แก่ อาคารชุดที่พักอาจารย์และบุคลากรโสด (A1) จำนวน 4 หลัง / อาคารชุดที่พักอาจารย์และบุคลากรครอบครัว (A2) จำนวน 4 หลัง / บ้านพักรับรองผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมไปถึงบุคคลภายนอก (H3-H6) จำนวนทั้งสิ้น 49 หลัง และบ้านพักรับรองอธิการบดี (H1) จำนวน 1 หลัง

มิถุนายน 2547

เปิดสอนระดับปริญญาเอกเป็นครั้งแรก

ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิชาวัสดุศาสตร์

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2547 ให้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เพื่อประดิษฐาน ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโดยมุ่งหมายให้เป็นการเทิดพระเกียรติและเป็นเครื่องหมายแห่งความจงรักภักดี
ของประชาคมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระรูปต้นแบบ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์
ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระรูป ณ มณฑลพิธี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547
และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
(ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามบรมราชกุมารี)
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในการประกอบพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์ ในวันที่ 11 ธันวาคม 2548
และจากนั้น ในวันที่ 12 ธันวาคม 2548 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดให้มีพิธีชัยมังคลาภิเษก 
พระราชานุสาวรีย์ตามรูปแบบประเพณีของล้านนาโดยครบถ้วน

…ข้อมูลเพิ่มเติม…

31 มกราคม 2548

เปิดการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2548 ในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และสาธารณสุขบัณฑิต โดยมุ่งหวังให้มีการพัฒนาบัณฑิตทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

เป็นสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางแห่งแรกของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นด้วยมหาวิทยาลัยพิจารณาเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและความงามมีการเติบโตสูง และมีศักยภาพในการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศได้ ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท ในปีการศึกษา 2548

จัดขึ้นบริเวณสามแยกหน้ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงนี้ แกะจากหินแกรนิตสีเทาปุยฝ้ายก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว

9 ตุลาคม 2549

จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการรักษาตามนโยบายของรัฐบาลที่จะสนับสนุนการแพทย์แผนไทย ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปโรคจากเส้น ประสาทถูกกดทับ อาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ โรคจากความผิดปกติของเส้นเลือดในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฝังเข็ม กายภาพบำบัดและอาชีวะบำบัด เป็นต้น ณ อาคารที่ทำการชั่วคราวส่วนหน้า 12 หลัง

16 ตุลาคม 2549

เกิดขึ้นจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมิน มณฑลฮกเกี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อช่วยส่งเสริมกิจกรรมด้านวิชาการ งานวิจัย ภาษาจีนเฉพาะทาง การสอบ HSK หลักสูตรอบรมภาษาจีนทุกระดับ และวัฒนธรรมจีน เพื่อนำไปสู่มิตรภาพอันดีระหว่างจีนกับไทยในอนาคต

18 ธันวาคม 2549

เป็นสำนักวิชาที่มหาวิทยาลัยมุ่งหมายให้เป็นการเทิดพระเกียรติและเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนด้านพยาบาลของประเทศ โดยได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2549

พ.ศ. 2549

โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการสอนของครูมัธยม
ในจังหวัดเชียงราย

มหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการสอนของครูมัธยมในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา โดยการเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มทักษะในการผลิตสื่อและเทคนิคการสอน เทคนิคการคิดและวิเคราะห์ข้อสอบและการประเมิน รวมทั้งจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ดีของนักเรียน

วิหารพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่ทรงพระเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา จัดสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติฯ และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาในโอกาสสำคัญ รวมทั้งเป็นสถานที่พักใจ ชำระจิตใจให้เข้าถึงธรรม โดยมหาวิทยาลัยได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “สธ.” มาประดิษฐานที่หน้าบัน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจะเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าวิหารพระเจ้าล้านทองเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2551

..ข้อมูลเพิ่มเติม..

บนเนื้อที่ 1,000 ไร่ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา และเพื่อสนองพระราชปณิธาน “ปลูกป่า สร้างคน” ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

21 ธันวาคม 2550

ปัจจุบันคือสำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2551 โดยมุ่งหวังให้มีการพัฒนาศาสตร์ด้านการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งจะเป็นศาสตร์ที่จะมีความต้องการในอนาคตมากขึ้น

ห้าปีที่สาม (25 กันยายน 2551 – 24 กันยายน 2556) มหาวิทยาลัยมีความพร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าและพร้อมที่จะยืนอยู่ในแถวหน้าของมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย ในฐานะที่มีความสามารถในการผลิตบัณฑิต ความสามารถในการผลิตงานวิจัยในสาขาวิชาที่เปิดสอน ความสามารถในการบริการวิชาการแก่สังคม และแสดงบทบาททางวิชาการในเวทีต่าง ๆ ในระดับชาติ ตลอดจนประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก 

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เปิดให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร ประชนจังหวัดเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียง เป็นโรงพยาบาลการแพทย์ผสมผสาน ให้บริการการแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

30 พฤศจิกายน 2553

จัดตั้งโครงการทันตกรรมบรมราชชนนี

เป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้ซึ่งมีปัญหาทางสุขภาพฟันและโรคในช่องปาก ตลอดจนให้ความรู้ด้านการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพในช่องปากโดยกลุ่มทันตแพทย์อาสาและบุคลากรอาสา

19 มกราคม 2555

เกิดจากการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบน ยังขาดแคลนแพทย์และผู้ชํานาญการทางด้านการแพทย์อีกเป็นจํานวนมาก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงมุ่งหมายให้สํานักวิชานี้ เป็นแหล่งผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมเพื่อสังคมตามรอย ส่วนต่างๆ พระราชปณิธานสมเด็จย่า ที่ทรงมุ่งหมายจะพัฒนา คุณภาพชีวิตและให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้โดยกว้างขวาง โดยได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกจํานวน 32 คน ในปีการศึกษา 2556

22 มีนาคม 2555​

จัดตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความขาดแคลนทันตแพทย์ ของประเทศ และขยายบริการทางด้านทันตกรรมให้กับประชาชนโดยทั่วถึง และมุ่งผลิตบัณฑิตทันตแพทยศาสตร์ ให้ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ สามารถออกไปรับใช้สังคมใน ของประเทศได้ต่อไป โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2557 จํานวน 32 คน

ห้าปีที่สี่ (25 กันยายน 2556 – 24 กันยายน 2561) เป็นช่วงที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ทั้งในประเทศและนานาชาติอย่างแท้จริง และมหาวิทยาลัยยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายศักยภาพในการให้บริการด้านสุขภาพแก่สังคม
โดยมีการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้น 

1 พฤษภาคม 2557

เปิดสถานีไฟฟ้าย่อย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตเพื่อการพัฒนาสังคม และการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมุ่งให้บัณฑิตสามารถสร้างนวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

22 พฤษภาคม 2557

มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตเพื่อการพัฒนาสังคม และการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมุ่งให้บัณฑิตสามารถสร้างนวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม ทั้งภายในและระหว่างประเทศ

17 กรกฎาคม 2557

การเรียนการสอนภาษาจีนเริ่มในสำนักวิชาศิลปศาสตร์ โดยหลักสูตรแรกคือจีนธุรกิจ ต่อมาได้มีหลักสูตรเพิ่มขึ้นอีกหลายหลักสูตร ด้วยการขยายตัวที่รวดเร็วทางด้านหลักสูตรภาษาจีน จึงได้จัดตั้งสำนักวิชาจีนวิทยาขึ้น เพื่อให้สามารถพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับจีนได้โดยกว้างขวาง

25 มีนาคม 2560

จัดตั้งโครงการแพทย์อาสาบรมราชกุมารี

เป็นโครงการที่ให้บริการด้านสุขภาพแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการทางการแพทย์ได้

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยเชื้อรา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของโลกจาก 1,000 มหาวิทยาลัย
ทั่วโลก ในสาขา Mycology โดย The Center for World University Rankings (CWUR) 2017​

หน่วยปฏิบัติการทางด้านวิจัยเฉพาะทาง
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยแบบบูรณาการ และก่อให้เกิดการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาการเรียนการสอน สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเชิงประจักษ์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการนำผลวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สอดคล้องกับความต้องการของภูมิภาคและชุมชน และต่อยอดสู่การวิจัยขั้นสูงจนนำไปสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมให้เกิดอาชีพและเพิ่มพูนรายได้แก่ชุมชน จนถึงการแข่งขันในระดับโลกได้

กลุ่มที่ 1 หน่วยปฏิบัติการทางด้านวิจัยเฉพาะทาง ที่จัดตั้งโดยมหาวิทยาลัย

1. ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเชื้อรา

2. สถาบันชา

3. ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

4. สำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์

5. ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่

6. ศูนย์วิจัยเอเชียเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

7. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสมุนไพรและ การแพทย์แผนไทย

กลุ่มที่ 2 หน่วยปฏิบัติการด้านวิจัยเฉพาะทาง จัดตั้งโดยผ่านส่วนบริการงานวิจัย

1. ศูนย์นวัตกรรมทางเคมีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

2. ศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยชนชาติพันธุ์

3. ศูนย์ความเป็นเลิศทางธุรกิจและโลจิสติกส์

4. กลุ่มวิจัยวัสดุเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม

5. กลุ่มวิจัยเครื่องสำอางสมุนไพรและเวชสำอาง

6. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเครื่องสำอางสีเขียว

7. กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านวัตกรรมการท่องเที่ยว

8. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

9. หน่วยวิจัยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารและวัสดุชีวภาพ

10. หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์และนวัตกรรม

11. หน่วยวิจัยนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมด้านสมอง

12. หน่วยวิจัยจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมนุษย์เพื่อสุขภาพ

13. หน่วยวิจัยศิลปกรรมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

14. หน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

เป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียง เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา
นอกจากนี้
ยังให้บริการการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยทุกระดับ ด้วยแพทย์ที่มีคุณภาพ เครื่องมือที่ทันสมัย และระบบงานที่มีประสิทธิภาพสูง

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้เปิดดำเนินการและให้บริการเบื้องต้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2561 และเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ

เป็นสำนักวิชาใหม่ ที่แยกตัวออกมาจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นสำนักวิชาลำดับที่ 15 ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นสถาบันการศึกษาด้านการแพทย์บูรณาการ ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับระดับปริญญาตรี และในปีการศึกษา 2563

สำนักจัดอันดับ Times Higher Education (THE) ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกสำหรับปี 2020 หรือที่เรียกว่า THE World University Rankings 2020 โดยสำรวจจากมหาวิทยาลัยระดับโลกประมาณ 1,400 แห่ง จาก 92 ประเทศ​​

ได้รับการจัดอันดับ “มหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่” Emerging Economics University Ranking 2020 จาก Times Higher Education (THE) เป็นอันดับที่ 3 ของไทย และอันดับที่ 145 ของโลก

ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ในด้าน Plant and Animal Science ในทวีปเอเชีย และเป็นอันดับที่ 19 ของโลก ด้วยคะแนน 84.5​​

ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยค้นพบเห็ดหูหนูชนิดใหม่ของโลก โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อ ‘มุสิกรัตน์’ สามารถเพาะกินได้ไม่เกิดอันตราย เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทย

ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของไทย ด้านความเท่าเทียมทางเพศ (SDG 5 Gender Equality) จาก Times Higher Education (THE) ​

ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ Young University Rankings 2020 โดย Times Higher Education (THE) โดยเป็นอันดับที่ 1 ของไทยอันดันที่ 6 ของอาเซียน และอับดับที่ 76 ของโลก

ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชีย จาก Times Higher Education (THE) เป็นอันดับที่ 2 ของไทย อันดับที่ 8 ของอาเซียน และอันดับที่ 134 ของเอเชีย

โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วัดร่องขุ่น และศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ไร่เชิญตะวัน เพื่อส่งเสริมงานด้านพุทธศิลปกรรม

ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ดีที่สุดในโลกเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน จาก Times Higher Education (THE) โดยเป็นอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยไทย และอันดับที่ 7 ของอาเซียน

เพื่อให้บริการ ช่วยเหลือ และการสนับสนุนอาจารย์และบุคลากรในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การจัดฝึกอบรมเทคนิคการเรียนการสอนสมัยใหม่ การพัฒนาระบบจัดการการเรียนรู้เพื่อใช้ในการเรียน การสอบออนไลน์ และการให้บริการบุคลากรภายนอก การจัดกิจกรรมชุมชนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนการสอน การให้คำปรึกษาด้านเทคนิคการสอนและการทำวิจัยทางด้านการศึกษาสมัยใหม่

ได้รับการจัดอันดับสาขา Life Sciences เป็นอันดับ 1 ของไทย จาก Times Higher Education (THE)

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็น 1 ใน 25 มหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่เป็นตัวแทนในเวทีโลกของการจัดอันดับ THE Impact Rankings 2021 ซึ่งเป็นการแสดงบทบาทของสถาบันอุดมมศึกษาต่อการพัฒนาตามเป้าหมาย SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ ทั้งนี้ มฟล. ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในช่วง 601—800 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 1,115 แห่งทั่วโลก โดยได้รับการจัดลำดับร่วมกับ 4 มหาวิทยาลัยจากประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่เข้าร่วมและได้รับการจัดอันดับ SDGs

สำนักจัดอันดับ Times Higher Education (THE) ได้ประกาศผลการจัดอันดับ Times Higher Education Asia University Rankings 2022 โดยผลการจัดอันดับครั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้รับการจัดอันดับในช่วงที่ 201-250 จากกว่า 600 มหาวิทยาลัยทั่วเอเชีย โดยเป็นที่ 2 ร่วมของไทย อยู่ในช่วงเดียวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และติดอันดับ 1 ใน 20 ของอาเซียน

ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานฯ Platinum Award ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) ผลงาน “การพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกขมิ้นชันปลอดโรคและสารสำคัญสูงด้วยระบบ substrate culture”

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยไทยที่ดีที่สุดในโลกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน จากการประกาศผลการจัดอันดับ THE World University Rankings 2022  โดยอยู่ในกลุ่ม 601-800 ของโลก ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดของมหาวิทยาลัยไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จากมหาวิทยาลัยไทย 17 แห่งที่ผ่านเงื่อนไข

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดพิธีเปิดอาคารวันชัย ศิริชนะ (AD) และอาคารพลเอกสำเภา ชูศรี (E4) โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย คุณหญิงธนวันต์ ชูศรี รองศาสตราจารย์ ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานในมหาวิทยาลัย และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน

14 ธันวาคม 2564 UI Green Metric World University Rankings ได้ประกาศผลการจัดลำดับมหาวิทยาลัยสีเขียวประจำปี 2021 ในปีนี้มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 956 แห่ง โดยมี Wageningen University & Research จากประเทศเนเธอร์แลนด์ที่อยู่ในอันดับที่ 1 เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
สำหรับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปีนี้อยู่ในอันดับที่ 113 ของโลก และอยู่ในอันดับที่ 7 ของประเทศไทยจากมหาวิทยาลัยไทยทั้งหมด 39 แห่ง

ส่วนพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จัดให้มีพิธีเปิดหน่วยงานส่งเสริมการบริการนักศึกษาเบ็ดเสร็จ หรือ M for U ที่อาคาร M-Square ชั้น 2 เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างครบวงจรให้กับนักศึกษา ให้สามารถรับบริการจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยในที่แห่งเดียว

คลินิกทันตกรรมสัมพันธ์ ศรีสุวรรณ ได้ดำเนินการก่อสร้างตามข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันร่วมผลิตในการผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ โดยได้สร้างอาคารนี้ไว้ในบริเวณพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นอาคารแบบสองชั้น ชั้นล่างเป็นส่วนบริการทันตกรรม ชั้นบนเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหลากหลายวิชาชีพทางสาธารณสุข

Times Higher Education (THE) ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ที่ดีที่สุด ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ที่ดีที่สุดในประเทศไทยติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ในการประกาศผลการจัดอันดับ Young University Rankings 2022 โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจัดอยู่ในกลุ่ม 201-250 ของโลก (เท่ากับปี 2021) ของโลก และยังคงเป็นอันดับสูงที่สุดของมหาวิทยาลัยจากประเทศไทย

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ติดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติ  1 ใน 10 ของประเทศไทย จาก SCImago Institutions Ranking (SIR) 2022 การจัดอันดับนี้เป็นการจัดอันดับสถาบันด้านการวิจัยทั้งที่เป็นสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐ และบริษัทเอกชน โดยมีตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการวิจัย (Research 50%) ที่พิจารณาจากจำนวนผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่และการถูกอ้างอิงในฐานข้อมูลทางวิชาการ SCOPUS 2. ด้านนวัตกรรม (Innovation 30%) พิจารณาจากจำนวนทรัพย์สินทางปัญญาในฐานข้อมูล PATSTAT และ 3. ด้านสังคม (Societal 20%) โดยพิจารณาจากการเข้าถึงเว็บไซต์ตามสถิติจาก Google and Ahrefs 

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็น 1 ใน 51 มหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่เป็นตัวแทนในเวทีโลกของการจัดอันดับ THE Impact Rankings 2022 โดยเป็นการแสดงบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อการพัฒนาตามเป้าหมาย SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติโดยในปี 2022 มฟล. ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในช่วง 401 – 600 จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 1,406 แห่งใน 106 ประเทศทั่วโลก และจัดอยู่ในอันดับที่ 11 ร่วมของมหาวิทยาลัยไทย

Times Higher Education (THE) ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ที่ดีที่สุด ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ที่ดีที่สุดในประเทศไทยติดต่อกัน 2 ปีซ้อน ในการประกาศผลการจัดอันดับ Young University Rankings 2021 โดยมฟล. อยู่ในกลุ่ม 201-250 ของโลกซึ่งเป็นอันดับสูงที่สุดของมหาวิทยาลัยจากประเทศไทย และอยู่ในลำดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียนจำนวน 20 แห่ง

อาจารย์ ดร.พรรณรวี พรหมนารท รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้ารับเกียรติบัตรประกาศเกียรติคุณองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม ประเภท “สถานศึกษาคุณธรรม” ภายในพิธีประกาศยกย่องบุคคลต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ และองค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม  ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงร

โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดพิธีเปิดห้องประชุมประจวบ ภิรมย์ภักดี ที่ห้องประชุมประจวบ ภิรมย์ภักดี ชั้น 6 อาคาร์ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 น. โดยมี ศ.พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีกล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การดำเนินงาน คุณสันติ ภิรมย์ภักดี กดแพรคลุมป้าย โดยมีผู้บริหารจากทั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ ร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน

ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดงานเสวนาวิชาการพิเศษ เรื่อง ‘ล่องกระแสคลื่นมหาอำนาจ สู่ความร่วมมืออย่างยั่งยืนระหว่างไทย-จีน’ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ที่ห้องประชุมสมเด็จย่า (C4) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ ‘ล่องกระแสคลื่นมหาอำนาจ สู่ความร่วมมืออย่างยั่งยืนระหว่างไทย-จีน’ โดย ศ.พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  ในพิธีเปิดกิจกรรมมี ดร.ธีรภาพ ปรีดีพจน์ คณบดีสำนักวิชาจีนวิทยา กล่าวรายงาน ก่อนที่ รศ.ดร.นันทนา คชเสนี รองอธิการบดี ได้กล่าวเปิดกิจกรรม โดยมี คุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอำนวยการบริษัท Strategy 613 บริษัทที่ปรึกษาให้กับองค์กรเอกชนขนาดใหญ่ และหน่วยงานของรัฐ ในการลงทุนทำธุรกิจระหว่างไทยกับจีน รวมถึงระหว่างยุโรปกับจีนด้วย

ได้รับรางวัล Bronze Award รองชนะเลิศอันดับ 3 ผลงาน “การพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกร และผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชีบงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน” เจ้าของผลงาน ดร.ชลิดา ธนินกุลภรณ์ หัวหน้าส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม และคณะ ในงาน Thailand Research Expo 2022 มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดพิธีเปิดนิทรรศการพุทธศิลปกรรม หลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ณ ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และเป็นการแสดงผลงานอันเป็นผลสำเร็จจากผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้น สาขาวิชาพุทธศิลปกรรม รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง โดยได้รับเกียรติจาก นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มาเป็นประธานในพิธี ทั้งยังได้รับความเมตตาจาก เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลางและกรรมการมหาเถรสมาคม กล่าวสัมโมทนียกถา รศ. ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวต้อนรับ ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และผู้ก่อตั้งหลักสูตร กล่าวสรุปผลการเรียนการสอนของหลักสูตรพุทธศิลปกรรม มฟล.

สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สํานักงาน ป.ป.ช.) ได้ประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment) หรือการประเมิน ITA ประจำปี 2565 ตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 77/2565 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับผลการประเมินในระดับ AA มีคะแนนอยู่ที่ 95.70 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 0.74 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 3 ของกลุ่มสถาบันการศึกษา จากทั้งหมด 86 สถาบัน

สถาบันการแพทย์แผนไทย-จีน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้พัฒนาระบบจัดการจุดฝังเข็ม (MFU ACUPUNCTURE) เพื่อบันทึกประวัติการรักษาของคนไข้และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน โดยมีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการ ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนของสำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ มฟล. ซึ่งในปัจจุบันเปิดสอนใน 3 สาขาวิชาคือ การแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และกายภาพบำบัด ซึ่งจะได้นำระบบจัดการการรักษามาใช้เพื่อบันทึกประวัติการรักษาเฉพาะจุดเช่นเดียวกับการฝังเข็ม เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการรักษาของโรงพยาบาลต่อไป

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เปิดเผยข้อมูลรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก ในสาขาวิชาต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 22 สาขาหลัก 176 สาขาย่อย การคัดเลือกและจัดอันดับนี้ประเมินจากการวิเคราะห์ผลกระทบงานวิจัยจากการอ้างอิงบทความที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี 1960–2021 โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย (citations, h-index, co-authorship adjusted hm-index, citations to papers in different authorship positions and a composite indicator (c-score))

สถาบันการแพทย์แผนไทย-จีน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้พัฒนาระบบจัดการจุดฝังเข็ม (MFU ACUPUNCTURE) เพื่อบันทึกประวัติการรักษาของคนไข้และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน โดยมีผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการ ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนของสำนักวิชาการแพทย์บูรณาการ มฟล. ซึ่งในปัจจุบันเปิดสอนใน 3 สาขาวิชาคือ การแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และกายภาพบำบัด ซึ่งจะได้นำระบบจัดการการรักษามาใช้เพื่อบันทึกประวัติการรักษาเฉพาะจุดเช่นเดียวกับการฝังเข็ม เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการรักษาของโรงพยาบาลต่อไป

โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ผ่านการประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (รพ.สส.พท) ให้อยู่ในระดับ “ดีเยี่ยม” ในระดับจังหวัด จาก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีเกณฑ์พิจารณาใน 5 ด้านคือ 1. ด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม 2. ด้านบุคลากร 3. ด้านการปฏิบัติงาน 4. ด้านการควบคุมคุณภาพ 5. ด้านการจัดบริการ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหน่วยงานประสานหลักมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือและภาคใต้ ได้จัดการประชุมอธิการบดีเครือข่ายมหาวิทยาลัยเหนือ-ใต้ ครั้งที่ 1 (The 1st NSU-Net Presidents’ Forum) ในหัวข้อ Sustainable Networking for a Better Future Together มีสถาบันอุดมศึกษา รวม 17 แห่ง เข้าร่วมเครือข่ายและการประชุม พร้อมกับลงนามความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และรองศาสตราจารย์ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี นำคณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เข้าร่วมพิธีเปิดป้ายโรงงานต้นแบบเครื่องสำอาง สำนักปลัดกระทรวงอว. ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงและพัฒนาด้วยวงเงินจำนวน 12 ล้านบาท เพื่อให้สามารถผลิตสินค้านวัตกรรมเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐานสากล สามารถให้บริการแก่ธุรกิจขนาดกลางและย่อมหรือ SMEs ณ อาคารเอส 6 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นประธานในพิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัชฌิมา นราดิศร ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ตามที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวมัชฌิมา นราดิศร ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับรางวัลระดับ Silver Award จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับผลงาน “วิถีเครื่องสำอาง BCG จากชุมชนท้องถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน” ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo 2023) จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 117 สถาบันทั่วประเทศ และได้รับรางวัล 3 ปีซ้อน

🥇Platinum Award 2021 (Farmer and Medicine) “การพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกขมิ้นชันปลอดโรคและสารสำคัญสูงด้วยระบบ Substrate Culture” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ เจริญทรัพย์ หัวหน้าโครงการฯ

🥇Bronze Award 2022 (Food) “โครงการพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟอาราบิก้าในชุมชนจังหวัดเชียงรายตลอดห่วงโซ่อุปทาน” ดร.ชลิดา ธนินกูลภรณ์ หัวหน้าโครงการฯ

🥇Silver Award 2023 (Cosmetic) “วิถีเครื่องสำอาง BCG จากชุมชนท้องถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ ผู้บริหารแผนงานฯ

อาคารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นอาคารสูง 15 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 34,570 ตารางเมตร ภายในอาคารประกอบด้วยห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ห้องปฏิบัติการการผ่าตัด ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา พิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ ห้องสมุด ห้องประชุมกลุ่มย่อย ห้องปฏิบัติการคลอด ห้องปฏิบัติการปรีคลินิก ห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง ห้องอเนกประสงค์ ห้องประชุม ห้องสัมมนา สำนักงานบริหารสำนักวิชาแพทยศาสตร์ เป็นต้น จากนั้นทรงแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง Immuno Oncology พระราชทานแก่คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์ วันวันที่ 13 และ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามลำดับ

ณ วันนี้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงพร้อมที่จะก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและมั่นใจ ภายใต้พระบารมีปกเกล้าฯ
และอุดมการณ์ที่ยึดมั่นในผลประโยชน์ของชาติ และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของคนในชาติเป็นสำคัญ
มหาวิทยาลัยพร้อมจะเป็นที่พึ่งทางปัญญาให้กับสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
และพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของโลกนี้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะกระทำได้


 – ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ –
อธิการบดีผู้ก่อตั้งและนายกสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
91817080_2910095179083747_166329583564488704_n
DJI_0396
BCR_8214
Untitled-2
DJI_0027
20170915 #1_170919_0001
Copy of BCR_6686
Copy of 1E6A2695
Copy of IMG_2797
Copy of 105B0143
SONY DSC
BCR_2828
20170915 #1_170919_0106
1E6A8132
105A4783
DSC_6967
IMG_9392
105A8218

25th MFU