MFU TIMELINE 1st

MFU TIMELINE

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ก่อกำเนิดขึ้นจากการที่ประชาชนชาวเชียงราย มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันเปี่ยมล้น
ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเชียงราย ที่ได้ทรงเลือกจังหวัดเชียงราย
เป็นสถานที่สร้างพระตำหนัก และทรงริเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุง ซึ่งได้นำความเจริญรุ่งเรืองมายังจังหวัดและประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง
ฉะนั้น หลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จสู่วรรคาลัย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงได้เสนอต่อรัฐบาลให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ในจังหวัดเชียงรายต่อรัฐบาลเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดี และเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์
ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการพัฒนาคน

4 มีนาคม 2539

ตัวแทนชาวเชียงรายเข้าพบนายกรัฐมนตรี

ตัวแทนชาวเชียงรายทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 18 คน โดยการประสานงานของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้าพบนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกฐมนตรีเพื่อขอให้สนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงราย

5 มีนาคม 2539

คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา มีมติให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาที่จังหวัดเชียงราย โดยอาจยกฐานะสถาบันราชภัฏเชียงรายขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยก็ได้

18 กุมภาพันธ์ 2540

คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีมติใหม่ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ในจังหวัดเชียงราย

21 กุมภาพันธ์ 2540​

ลงนามสัญญาประชาคม​​

นายมนตรี ด่านไพบูลย์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ในขณะนั้น ได้พบกับราษฎรจังหวัดเชียงราย เพื่อยืนยันการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงราย และได้มีการลงนามในสัญญาประชาคมว่าจะให้มีการดำเนินการจัดตั้งให้แล้วเสร็จและ รับนักศึกษาได้ภายใน ปีพุทธศักราช 2542

สัญญาประชาคม01

28 กุมภาพันธ์ 2540​

รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
ได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นประธานคณะกรรมการจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

29 กรกฎาคม 2540

รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีมติอนุมัติให้ใช้พื้นที่บริเวณ
ดอยแง่ม จำนวน 4,997 ไร่ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
แม่ฟ้าหลวง

26 มีนาคม 2541

เปิดทางเข้ามหาวิทยาลัย

ชาวเชียงรายร่วมกันบุกเบิกทางเข้ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บริเวณดอยแง่ม เป็นปฐมฤกษ์

5 มิถุนายน 2541​

ปลูกป่าครั้งแรก​

ประชาชนชาวเชียงรายกว่า 5,000 คน ร่วมกันปลูกป่าที่บริเวณดอยแง่ม เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก

รายนามคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ตามบทเฉพาะกาล

ในมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
พุทธศักราช 2541 วาระการดำรงตำแหน่ง
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2541 - 22 มิถุนายน 2543
22-march 4

นายประจวบ ไชยสาส์น

 

รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัย

รศ. ดร.วันชัย ศิริชนะ

ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
อุปนายกสภามหาวิทยาลัย

นายวิจารณ์ ไชยนันทน์

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
กรรมการสภามหาวิทยาลัย

ศ.โชติ ธีตรานนท์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรรมการสภามหาวิทยาลัย

มรว.ดิศนัดดา ดิศกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายอมเรศ ศิลาอ่อน

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายสุเมธ ตันติเวชกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.วิษณุ เครืองาม

อุปนายกสภามหาวิทยาลัย

นายสุนทร อรุณานนท์ชัย

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายมีชัย วีระไวทยะ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายณรงค์ วงค์วรรณ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายคำรณ บุญเชิด

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ

นายวันชัย จงสุทธามณี

กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิภาคเหนือ

รศ.สงคราม เหลืองทองคำ

รองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
กรรมการและเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

รศ.มณฑล สงวนเสริมศรี

ผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

นายสำราญ ทองแพง

ผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัย

ห้าปีแรก (25 กันยายน 2541 – 24 กันยายน 2546) เป็นช่วงเวลาของการบุกเบิกริเริ่มใหม่ในทุกด้าน ทั้งการก่อสร้างอาคาร
การสรรหาอาจารย์และบุคลากร ตลอดจนการออกกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ นอกจากนี้ยังมีได้เริ่มการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดสร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนขึ้นเป็นแห่งแรกในโลก

25 กันยายน 2541

วันสถาปนามหาวิทยาลัย

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ.2541
ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา จึงได้ยึดถือวันนี้
เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

Act

20 ตุลาคม 2541

อธิการบดีคนแรก

รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย

President MFU

ทำเนียบอธิการบดี

รศ. ดร.วันชัย ศิริชนะ

20 ตุลาคม 2541 – 2 ธันวาคม 2541

3 ธันวาคม 2541 – 1 ตุลาคม 2544

2 ตุลาคม 2544 – 1 ตุลาคม 2548

2 ตุลาคม 2548 – 1 ตุลาคม 2552

รักษาการแทนอธิการบดี

รักษาการแทนอธิการบดี

อธิการบดี

อธิการบดี

รศ. น.สพ. ดร.เทอด เทศประทีป

2 ตุลาคม 2552 – 1 มกราคม 2554

2 มกราคม 2554 – 26 เมษายน 2554

อธิการบดี

รักษาการแทนอธิการบดี

รศ. ดร.วันชัย ศิริชนะ

27 เมษายน 2554 – 28 เมษายน 2558

29 เมษายน 2558 – 28 เมษายน 2532

อธิการบดี

รักษาการแทนอธิการบดี

รศ. ดร.วันชัย ศิริชนะ

29 เมษายน 2562 – ปัจจุบัน

อธิการบดี

9 มีนาคม 2542

จัดตั้งสำนักวิชาศิลปศาสตร์

จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ต่อมาได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาอังกฤษ ในปีการศึกษา 2543

จัดตั้งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์

จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอนรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ต่อมาได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพขึ้น ในปีการศึกษา 2544

สำนักวิชาวิทยาการจัดการ

ปัจจุบันคือสำนักวิชาการจัดการ เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าทุกวิชาชีพต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการจัดการ และประเทศไทยยังขาดบุคลากรทางด้านนี้อีกมาก ได้รับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2544 ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว

จัดตั้งสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ได้เปิดดำเนินการรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษาแรกของมหาวิทยาลัย ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัย พิจารณาเห็นว่าเป็นศาสตร์แห่งอนาคตซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

จัดตั้งสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

ปัจจุบันคือสำนักวิชาอุตสาหกรรมการเกษตร ได้เปิดดำเนินการรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษาแรก ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร  ซึ่งมหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่าเป็นศาสตร์ที่มีความสอดคล้องกับที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ประกอบกับประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถผลิตอาหารสำหรับประชากรโลกได้ และยังต้องการกำลังคนทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรอีกมาก

10 มิถุนายน 2542

เริ่มเปิดการศึกษาครั้งแรก

เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 สาขาวิชาคือหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มีนักศึกษาทั้งหมด 62 คน โดยใช้อาคารโรงเรียนเทศบาล 6  สลากกินแบ่งรัฐบาล

10 ตุลาคม 2542

รัฐมนตรีจีน เยือนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

H.E. Madame Chen Zhilli รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเยี่ยมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และสานสัมพันธ์ทางด้านวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาต่อมา

15 ตุลาคม 2542

มหาวิทยาลัยย้ายที่ทำการชั่วคราว

มหาวิทยาลัยย้ายที่ทำการชั่วคราวจากโรงเรียนเทศบาล 6 สลากกินแบ่งรัฐบาล มายังพื้นที่ดอยแง่ม โดยใช้อาคารที่ทำการชั่วคราวส่วนหน้า 12 หลัง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2542

22 มิถุนายน 2543

กรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก

มีการแต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก โดยมี พล.ต.อ.เภา สารสิน ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย

รายนามคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย (ชุดแรก)

(22 มิถุนายน พุทธศักราช 2543 - 21 มิถุนายน พุทธศักราช 2555)
22-march 4

พลตำรวจเอก เภา สารสิน


นายกสภามหาวิทยาลัย

ศ. ดร.วิษณุ เครืองาม

อุปนายกสภามหาวิทยาลัย

รศ. ดร.วันชัย ศิริชนะ

ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (รักษาการแทน)
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

ศ. ร.ต.อ. วรเดช จันทรศร

ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

นายสุนทร อรุณานนท์ชัย

ประธานส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

นายเอนก สิทธิประศาสน์

ประธานส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง

นายสงคราม ชีวประวัติดำรงค์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายเรียบ นราดิศร

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายสมชาย พงษธา

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายณรงค์ วงศ์วรรณ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายคำรณ บุญเชิด

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.สุจินต์ จินายน

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.อมเรศ ภูมิรัตน์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ศ. ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

นายศรีสุข จันทรางศุ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ

รศ.ยุทธนา สมิตะสิริ

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

รศ. น.อ. ยุทธนา ตระหง่าน

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ผศ.สมศักดิ์ เอี่ยมศรีทอง

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ร.ศ.จุฑา เทียนไทย

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้บริหาร

ดร.รุ่งโรจน์ นิลทอง

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ

อ.ศศิมา จารุบุษป์

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ

อ.ณัฐพรพรรณ ปิยะอารีกุล

กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ

ผศ.ปริตนา ประทีปะเสน

รองอธิการบดี
เลขานุการสภามหาวิทยาลัย

รศ. น.สพ. ดร.เทอด เทศประทีป

รองอธิการบดี
เลขานุการสภามหาวิทยาลัย

16 พฤศจิกายน 2543

ลงนามความร่วมมือทางวิชาการครั้งแรก

ลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและ Brock University จากประเทศแคนาดา ในการวางแนวทางพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษทางธุรกิจสำหรับนักธุรกิจในภาคเหนือตอนบน

มิถุนายน 2545​

เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโทครั้งแรก​

ในหลักสูตรบริหารธุรกิจ

ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร

เกิดขึ้นจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีความต้องการให้มีการศึกษาทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนเกิดขึ้นในประเทศไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2543 การก่อสร้างได้เริ่มเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2544 โดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างจีนจากมณฑลยูนนาน หลังจากนั้น รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทำการส่งมอบให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545

27 มกราคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เยี่ยมศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนเป็นการส่วนประองค์ และมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อศูนย์แห่งนี้ว่า “ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร” จากนั้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธรอย่างเป็นทางการ

ห้าปีที่สอง  (25 กันยายน 2546 – 24 กันยายน 2551) เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในทุกด้าน จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งหนึ่งทางด้านกายภาพการก่อสร้างอาคาร ได้รับการยอมรับว่ามีความสวยงามและโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังได้พัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเป็นเมืองมหาวิทยาลัยอย่างสมบูรณ์

23 มกราคม 2546

จัดตั้งสำนักวิชานิติศาสตร์

เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อปีการศึกษา 2546 เพื่อสนองต่อความต้องการนักกฎหมายคุณภาพ ให้ทันต่อการขยายตัวของหน่วยงานทางกฎหมายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

3 กุมภาพันธ์ 2547

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2545 ซึ่งเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสรินธร

6 พฤษภาคม 2547

การก่อสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ตามโครงการพัฒนากายภาพ ระยะที่ 1

1. กลุ่มอาคารการศึกษา ได้แก่ อาคารเรียนรวม 1 (C1) / อาคารเรียนรวม 2 (C2) / อาคารเรียนรวม 3 (C3) / หอประชุมสมเด็จย่า (C4) / อาคารสำนักวิชา 1 (E1) / อาคารสำนักวิชา 2 (E2)

2. กลุ่มอาคารสำนักงาน อาคารบริหารและสันทนาการ ได้แก่ อาคารสำนักงานอธิการบดี (AD) / อาคารศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (AV) / อาคารศูนย์บริการวิชาการและวิจัย  (AS) / อาคารศูนย์เครื่อมือวิทยาศาสตร์ 1-6 (S1-S6) / อาคารโรงอาหาร (D1) / พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง (D2)

3. กลุ่มอาคารที่พักนักศึกษา ได้แก่ อาคารหอพักนักศึกษา (F1-F6)

4. กลุ่มอาคารที่พักบุคลากร ได้แก่ อาคารชุดที่พักอาจารย์และบุคลากรโสด (A1) จำนวน 4 หลัง / อาคารชุดที่พักอาจารย์และบุคลากรครอบครัว (A2) จำนวน 4 หลัง / บ้านพักรับรองผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมไปถึงบุคคลภายนอก (H3-H6) จำนวนทั้งสิ้น 49 หลัง และบ้านพักรับรองอธิการบดี (H1) จำนวน 1 หลัง

มิถุนายน 2547

เปิดสอนระดับปริญญาเอกเป็นครั้งแรก

ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และสาขาวิชาวัสดุศาสตร์

พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี

เกิดขึ้นจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีความต้องการให้มีการศึกษาทางด้านภาษาและวัฒนธรรมจีนเกิดขึ้นในประเทศไทย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2543 การก่อสร้างได้เริ่มเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2544 โดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างจีนจากมณฑลยูนนาน หลังจากนั้น รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทำการส่งมอบให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545

27 มกราคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เยี่ยมศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนเป็นการส่วนประองค์ และมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อศูนย์แห่งนี้ว่า “ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธร” จากนั้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนสิรินธรอย่างเป็นทางการ

31 มกราคม 2548

จัดตั้งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เปิดการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2548 ในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และสาธารณสุขบัณฑิต โดยมุ่งหวังให้มีการพัฒนาบัณฑิตทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

จัดตั้งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

เปิดการศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2548 ในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และสาธารณสุขบัณฑิต โดยมุ่งหวังให้มีการพัฒนาบัณฑิตทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

12 พฤษภาคม 2548

ประดิษฐานตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

ศิลาตราสัญลักษณ์ที่มีลักษณะโดดเด่น ถูกแกะสลักจากหินแกรนิตสีเทาปุยฝ้ายก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว